วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคมือเท้าปาก


                        โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease)

http://www.baanjomyut.com/library_2/hand_foot_and_mouth_disease/26.jpg


ความหมายโรคมือเท้าปาก
              เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในเด็กทารก และเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็กสถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัด จะมีโอกาสที่เกิดการระบาดได้โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝนซึ่งอากาศเย็นและชื้น
 การแพร่ติดต่อ
   การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และเกิดจากการไอจามรดกัน โดยหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของผู้ป่วย สำหรับการติดเชื้อจากอุจจาระจะเกิดได้ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลา จนกระทั่งหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า

อาการของโรค
   หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ตํ่าๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปาก กลืนนํ้าลายไม่ได้ และไม่ยอมทานอาหารเนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม จะพบตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบๆ อักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกเป็นแผลหลุมตื้นๆ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน
การรักษา
- โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวด ในรายมีแผลที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
- ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้และนอนพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวด
 - ตามปกติโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อนแต่เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอนเทอโรไวรัส 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดหากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือนํ้าดื่ม อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือนํ้าท่วมปอด ซึ่งจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อน
   ผู้ป่วยโรคมือเท้าปากมักประสบปัญหาภาวะขาดน้ำ เพราะการป่วยทำให้เกิดแผลอักเสบภายในปากและลำคอ ทำให้กลืนลำบาก สร้างความเจ็บปวดขณะกลืนน้ำหรืออาหาร
ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบตามมา มักเป็นอาการป่วยทั่วไปที่ไม่รุนแรง อาจมีเพียงบางรายที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก ได้แก่
เล็บมือเล็บเท้าหลุด เคยมีรายงานการพบเด็กมีเล็บมือเล็บเท้าหลุดออกไปหลัง 2-3 สัปดาห์ จากการป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก แต่เล็บเหล่านั้นก็จะงอกกลับขึ้นมาใหม่ในภายหลังโดยไม่ต้องใช้การรักษาใด ๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่แน่ชัดเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนชนิดนี้ที่เกี่ยวข้องกับโรคมือเท้าปาก
หากการติดเชื้อไวรัสส่งผลกระทบต่อสมอง อาจทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวกับสมอง คือ
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Viral Meningitis) เกิดการอักเสบที่เยื่อบุบริเวณสมอง น้ำไขสันหลังบริเวณสมอง และเส้นประสาทไขสันหลังจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการอย่างมีไข้ ปวดหัว ปวดหลังคอแข็ง จนอาจต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน
ภาวะสมองอักเสบ (Encephalitis) เป็นการอักเสบที่สมองจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นอาการป่วยรุนแรงและเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต และโรคโปลิโอ (Polio-like Paralysis) ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันส่งผลต่อเส้นประสาทสมองและไขสันหลัง แต่แทบจะไม่พบภาวะแทรกซ้อนในลักษณะเช่นนี้

การป้องกันโรค
      -โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้ล้างมือให้สะอาดด้วยนํ้าและสบู่ (ก่อนและหลังเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร ภายหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม หลังการดูแลเด็กป่วย) ตัดเล็บ ให้สั้น หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน (เช่น ขวดนม แก้วนํ้า หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ) และใช้ช้อนกลาง
      - สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย

วิธีการควบคุมโรค
หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแยกเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่นสระว่ายนํ้า ตลาด และห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี ใช้ผ้าปิดจมูกปากเวลาไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสนํ้ามูก นํ้าลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย
กรณีมีเด็กป่วยจำนวนมาก โรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กต้องดำเนินการ ดังนี้
1. ปิดห้องเรียนที่มีเด็กป่วยหรือปิดทั้งโรงเรียนชั่วคราว (ประมาณ 5–7 วัน)
2. ทำความสะอาดสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อโรค บริเวณห้องนํ้า ห้องส้วม สระว่ายนํ้า ครัว โรงอาหาร บริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้ผงซักฟอก หรือสบู่ทำความสะอาดก่อนแล้วตามด้วยนํ้ายาฟอกขาว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้าง/เช็ด/แช่ ด้วยนํ้าสะอาดเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
3. ทำความสะอาดของเล่น เครื่องใช้ของเด็กด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง
4. หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดส่องให้ทั่วถึง
สำหรับเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในวัยอนุบาล ที่มักจะติดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย อย่างโรคมือเท้าปาก การฝึกวินัยล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง จะเป็นวิธีหนึ่งที่ป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสได้ดี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู อาจลองใช้สื่อสุขศึกษาสอนล้างมือผ่านการร้องเพลง ที่ สสส. ได้เคยจัดทำไว้ เพื่อช่วยสร้างความเพลิดเพลินให้กับการล้างมือ โดยสอนให้เด็กๆ ร้องเพลง ช้าง ช้าง ช้าง จนจบ 1 รอบ ใช้เวลาเพียง 20-30 วินาที ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาล้างมือที่นานพอจะเจือจางเชื้อไวรัสได้มากที่สุด
พยากรณ์โรค
พยากรณ์โรคโดยทั่วไปดีมาก ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดจะหายเป็นปกติได้แม้ไม่ได้รับการรักษา ภาวะแทรกซ้อนนั้นพบได้น้อยมาก โดยอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ (aseptic meningitis) และภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทอื่นๆ ได้ แต่ส่วนใหญ่หายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจำเพาะ
ผู้ป่วยบางส่วนอาจเจ็บแผลในปากมาก จนทำให้ไม่สามารถกินอาหารและน้ำได้ อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง
aseptic meningitis อาจพบในโรคมือ เท้า และปาก ที่เกิดจากไวรัสคอกแซคกี ส่วนการติดเชื้อ EV-71 นั้นมีอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทมากกว่า ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ เช่น กลุ่มอาการคล้ายโปลิโอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่พบเชื้อ สมองอักเสบ สมองและไขสันหลังอักเสบ ภาวะกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยเฉียบพลัน โรคไขสันหลังอักเสบตามขวางเฉียบพลัน กลุ่มอาการกิลแลง บาร์เร opsomyoclonus syndrome และความดันในกะโหลกศีรษะสูงชนิดไม่ร้าย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุทาง immunopathology หรือความเสียหายต่อเกรย์แมทเทอร์ที่เกิดจากไวรัส
ภาวะแทรกซ้อนกับระบบหัวใจและปอดนั้นเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ interstitial pneumonitis และ pulmonary edema ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสคอกแซกกีมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทและผลที่ตามมาได้น้อยกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อ EV-71 โดย Chang และคณะ ได้วิเคราะห์การระบาดของโรคมือ เท้า และปากในไต้หวันเมื่อ ค.ศ. 1998 พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อ EV-71 68% ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ[1] 32% มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่ง 7.3% มี aseptic meningitis, 4.5% มี encephalomyelitis และ 6.8% มี pulmonary edema ที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต (ผู้ป่วย 7.9% เสียชีวิต และ 4% มีผลติดตัวจากภาวะแทรกซ้อน) ส่วนในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ coxsackievirus A16 94% ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีเพียง 6.3% ที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็น aseptic meningitis และไม่มีผู้เสียชีวิตหรือมีผลติดตัวจากภาวะแทรกซ้อน
Chong และคณะ ศึกษาการระบาดในสิงคโปร์เมื่อ ค.ศ. 2000 พบว่าการมีอาการอาเจียน เม็ดเลือดขาวสูง และการไม่พบรอยโรคในปาก เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พยากรณ์ว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนถึงเสียชีวิตได้

ผลงานวิชาการ
ประเภท นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
ชื่อเรื่อง หวานเย็น
บทนำ (แนวคิดและหลักการ)
             โรคมือเท้าปากเปื่อย (Hand-Foot-mouthDisease ) เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็กแต่บางรายจะมีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปาก  ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ น้อยกว่า 10 ปีโดยเฉพาะอายต่ำกว่า 5 ปี  มักมีอาการไข้ร่วมกับ ตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าและในปาก  ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมดว้ย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนอาการที่พบบ่อยคืออ่อนเพลียเบื่ออาหาร
หลังจากนั้น1-2วนั จะมีน้ำมูกเจ็บปาก เจ็บคอไม่ยอมดูดนม มีแผลในปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม หรือเพดาน
ผู้ป่วยบางส่วนอาจเจ็บ แผลในปากมากจนทำ ใหไ้ม่สามารถกินอาหารและน้ำ ได้อาจทำ ให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบไดบ่อยที่สุด อย่างหนึ่ง จากสถิติทางระบาดของ
โรคมือเท้าปากเปื่อยของประเทศไทย พบว่า การระบาดของโรค ใน พ.ศ.2555 มีการระบาดมากที่สุดในรอบ 30 ปีเริ่มตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2555 เป็นต้นมามีผู้ป่วยรวม 1,700 คน เสียชีวิต 2 ราย และจากสถิติทางระบาดของโรงพยาบาลควนเนียง ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2555 มีผู้ป่วย 17 ราย
Admit 3 ราย ด้วยอาการไข้ เจ็บ ปากเจ็บคอไม่ดูดนม ไม่กินอาหารและ มีภาวะขาดน้ำ จึงต้องได้รับการรักษา ซึ่งการรักษาที่ให้เป็นการรักษาตามอาการของโรคคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
พร้อมกับการให้ผงเกลือแร่ ORS เพื่อดื่มทดแทนการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย ซึ่งถ้าไม่ได้รับสารน้ำ และเกลือแร่ทดแทนผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการช็อกและสูญเสียถึงแก่ชีวติได้และการรักษา ภาวะขาดน้ำ แบบ ORAL REHYDRATION THERAPY (ORT) เป็นวิธีที่ง่ายราคาถูกและมีประสิทธิภาพ ที่สุด จากการสังเกตผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยใน ไม่ชอบดื่มน้ำ เกลือแร่ORS ซึ่งส่งผลทำใหไ้ม่ได้รับ
น้ำเกลือ แร่ที่เพียงพอจึงได้คิดค้นวัตกรรมหวานเย็น ขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้ป่วยเด็กอยากรับประทานน้ำ
เกลือแร่ เพื่อให้ได้รับน้ำเกลือแร่ที่เพียงพอเพื่อป้องกัน ภาวะขาดน้ำ จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่มงานกุมารเวชกรรมสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกในภาวะขาดสารน้า โดยแนะนำให้ กระตุ้นดื่มนม ไอศกรีม น้ำข้าว น้าผลไม้ หรือน้ำเกลือให้ได้ประมาณ 3-5 cc /kg./hr. ทางผู้จัดทำนวัตกรรม จึงได้นำ การวิจัยนี้มาประยูกต์ใช้แก่ผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่อยด้วย
วัตถุประสงค์
 1.เพื่อให้ผู้ป่ วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่ อยที่นอนโรงพยาบาลไดร้ับน้า เกลือแร่ที่เพียงพอ
2.เพื่อป้องกนั ภาวะขาดน้า ของผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่ อยที่นอนโรงพยาบาล
วืธีการดำเนินงาน 
1.จัดทำนวัตกรรมหวานเย็นโดยใชอุ้ปกรณ์ดังนี้
             -ORS เด็ก 1 ซอง -น้ำต้ม สุก150 ml
             -ถุงใส
-ยางวง

             -น้ำหวาน เฮลบลูบอย 5 ml


2.วิธีการทำ
         ผสม ORS เด็ก1 ซองกับ น้ำต้มสุก150 ml คนใหล้ะลายจนหมดแล้ว นำเกลือแร่ ORS เอามัดใส่ถุงแล้วนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง รอให้แข็งเป็นก้อน จึงนำมาให้ผู้ป่วยเด็กโรคมือ เท้าปากรับประทาน
 3.ทดลองใช้นวัตกรรมหวานเย็นโดยนำ หวานเย็นที่ได้ไปให้ผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากรับประทานพบว่า
ผู้ป่วยรับประทานเพียงเล็กน้อยเพราะว่า หวานเย็นมีรสชาติเค็ม จึงได้มีการปรับปรุงหวานเย็นใหม่
4.การปรับปรุงแก้ไข จากเดิมที่ผู้ป่วยรับประทานหวานเย็นเพียงเล็กน้อยเพราะวา่ มีรสเค็มจึงได้เพิ่ม
ส่วนผสมคือ น้าหวาน (เฮลบลูบอย) เข้าไปในปริมาณน้ำ เกลือแร่150 ml ผสมน้ำ หวาน 5ml แล้วนำไปแช่ แข็งให้เป็นหวานเย็นตามขั้นตอนเดิม
 5.การนำนวัตกรรมหวานเย็นไปใช้ หลังจากได้ปรับปรุงหวานเย็นแล้วนำไปให้ผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปาก รับประทานพบว่า ผู้ป่วยสามารถรับประทานไอติมได้หมด จึงได้จัดเตรียมไอติม  ไว้ในปริมาณมากเพียงพอ สำหรับผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากที่นอนโรงพยาบาล
 ผลการดำเนินงาน 
        จากการจัดทำนวัตกรรมหวานเย็น พบว่าผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่อยสามารถรับประทานเกลือแร่ ORS ที่อยู่ในรูปของไอติมหวานเย็นได้และไม่มีภาวะขาดน้ำ

การขยายผล
     1.แนะนำให้ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่อย นำไปทำให้บุตรหลานรับประทานต่อที่
บ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาล
     2.วางแผนการใช้นวัตกรรมหวานเย็นกับกลุ่มโรคอื่น เช่น อุจจาระร่วง
สรุปและข้อเสนอแนะ
      การจดัทำนวตักรรมหวานเย็นอาศัยรูปลักษณ์ของไอติม ที่ช่วยจูงใจให้เด็กอยากรับประทานและ ความเย็น ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บ แผลในปาก ทำให้ผู้ป่วยได้รับน้ำเกลือแร่และช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ จากภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปากเปื่อยได้อีกทั้งยังส่งผลให้ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย และความกังวลของบิดามารดาเกี่ยวกับอาการป่วยของบุตรได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
 คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : (2550). การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์. พิมพค์ร้ังที่1. มหาวทิยาลยัมหิดล,กรุงเทพ. ระบาดโรคมือเท้าปาก ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2556 จาก http://www.thairath.co.th/content/edu/279920 http://th.m.wikipedia.org/ โรคมือเท้าปาก ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2556 จาก http://www.siam health.net/…/hand_foot_mo.ht

โรคมือเท้าปาก สมุนไพรรักษาได้



 ฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.F.) Nees.) เป็นงานวิจัยที่ทำในประเทศจีน โดยนักวิจัยได้สกัดสาระสำคัญของฟ้าทลายโจรและทำให้อยู่ในรูปแบบของยาฉีด คือ Andrographolide Sulfonate injection
งานวิจัยนี้ทำในเด็กที่เป็นโรค มือ-เท้า-ปาก อายุ 1-13 ปี จำนวน 230 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะได้รับการรักษาแบบแผนเดิมร่วมกับ Andrographolide Sulfonate injection อีกกลุ่มจะได้รับการรักษาแบบแผนเดิม โดยติดตามผล 7-10 วัน ผลที่พบคือ กลุ่มแรกจะพบอาการแทรกซ้อนแบบรุนแรงน้อยกว่ากลุ่มที่สองอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังทำให้ไข้ลดลงได้เร็วขึ้น ทำให้แผลที่ผิวหนังและแผลในปากหายมากกว่ากลุ่มที่รักษาแบบแผนเดิม และไม่พบการเสียชีวิตรวมทั้งผลข้างเคียงที่รุนแรงในกลุ่มทดลอง
นอกจากนี้หากมีแผลในปากก็สามารถใช้กลีเซอรีนพญายอหยอดบริเวณแผลได้ เนื่องจากในใบพญายอมีสารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ทำให้แผลหายเร็วขึ้นและปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง
โดยสรุปแล้วการป้องกันโรคนี้อาจจะดีที่สุด เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กๆ หมั่นล้างมือให้สะอาดหลังจากหยิบจับสิ่งของ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ทางโรงเรียนก็ควรจะแยกผู้ป่วยเอาไว้ไม่ให้สัมผัสกับเด็กคนอื่น ทำความสะอาดของเล่น ห้องเรียนเพื่อลดการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะระวังมากแค่ไหน เด็กๆ ก็อาจมีโอกาสรับเชื้อมาได้ ผู้ปกครองก็ควรดูแลอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น