วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรม เรื่อง หวานเย็น

ผลงานวิชาการ
ประเภท นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
ชื่อเรื่อง หวานเย็น
บทนำ (แนวคิดและหลักการ)
             โรคมือเท้าปากเปื่อย (Hand-Foot-mouthDisease ) เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็กแต่บางรายจะมีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปาก  ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ น้อยกว่า 10 ปีโดยเฉพาะอายต่ำกว่า 5 ปี  มักมีอาการไข้ร่วมกับ ตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าและในปาก  ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมดว้ย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนอาการที่พบบ่อยคืออ่อนเพลียเบื่ออาหาร
หลังจากนั้น1-2วนั จะมีน้ำมูกเจ็บปาก เจ็บคอไม่ยอมดูดนม มีแผลในปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม หรือเพดาน
ผู้ป่วยบางส่วนอาจเจ็บ แผลในปากมากจนทำ ใหไ้ม่สามารถกินอาหารและน้ำ ได้อาจทำ ให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบไดบ่อยที่สุด อย่างหนึ่ง จากสถิติทางระบาดของ
โรคมือเท้าปากเปื่อยของประเทศไทย พบว่า การระบาดของโรค ใน พ.ศ.2555 มีการระบาดมากที่สุดในรอบ 30 ปีเริ่มตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2555 เป็นต้นมามีผู้ป่วยรวม 1,700 คน เสียชีวิต 2 ราย และจากสถิติทางระบาดของโรงพยาบาลควนเนียง ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2555 มีผู้ป่วย 17 ราย
Admit 3 ราย ด้วยอาการไข้ เจ็บ ปากเจ็บคอไม่ดูดนม ไม่กินอาหารและ มีภาวะขาดน้ำ จึงต้องได้รับการรักษา ซึ่งการรักษาที่ให้เป็นการรักษาตามอาการของโรคคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
พร้อมกับการให้ผงเกลือแร่ ORS เพื่อดื่มทดแทนการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย ซึ่งถ้าไม่ได้รับสารน้ำ และเกลือแร่ทดแทนผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการช็อกและสูญเสียถึงแก่ชีวติได้และการรักษา ภาวะขาดน้ำ แบบ ORAL REHYDRATION THERAPY (ORT) เป็นวิธีที่ง่ายราคาถูกและมีประสิทธิภาพ ที่สุด จากการสังเกตผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยใน ไม่ชอบดื่มน้ำ เกลือแร่ORS ซึ่งส่งผลทำใหไ้ม่ได้รับ
น้ำเกลือ แร่ที่เพียงพอจึงได้คิดค้นวัตกรรมหวานเย็น ขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้ป่วยเด็กอยากรับประทานน้ำ
เกลือแร่ เพื่อให้ได้รับน้ำเกลือแร่ที่เพียงพอเพื่อป้องกัน ภาวะขาดน้ำ จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่มงานกุมารเวชกรรมสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกในภาวะขาดสารน้า โดยแนะนำให้ กระตุ้นดื่มนม ไอศกรีม น้ำข้าว น้าผลไม้ หรือน้ำเกลือให้ได้ประมาณ 3-5 cc /kg./hr. ทางผู้จัดทำนวัตกรรม จึงได้นำ การวิจัยนี้มาประยูกต์ใช้แก่ผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่อยด้วย
วัตถุประสงค์
 1.เพื่อให้ผู้ป่ วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่ อยที่นอนโรงพยาบาลไดร้ับน้า เกลือแร่ที่เพียงพอ
2.เพื่อป้องกนั ภาวะขาดน้า ของผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่ อยที่นอนโรงพยาบาล
วืธีการดำเนินงาน 
1.จัดทำนวัตกรรมหวานเย็นโดยใชอุ้ปกรณ์ดังนี้
             -ORS เด็ก 1 ซอง -น้ำต้ม สุก150 ml
             -ถุงใส
             -ยางวง
             -น้ำหวาน เฮลบลูบอย 5 ml


2.วิธีการทำ
         ผสม ORS เด็ก1 ซองกับ น้ำต้มสุก150 ml คนใหล้ะลายจนหมดแล้ว นำเกลือแร่ ORS ที่ ได้แล้วมัดถุง แล้วนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง รอให้แข็ง จึงนำมาให้ผู้ป่วยเด็กโรคมือ เท้าปากรับประทาน
 3.ทดลองใช้นวัตกรรมหวานเย็น โดยนำหวานเย็นที่ได้ไปให้ผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากรับประทานพบว่า
ผู้ป่วยรับประทานเพียงเล็กน้อยเพราะว่า ไอติมมีรสชาติเค็ม จึงได้มีการปรับปรุงไอติมใหม่
4.การปรับปรุงแก้ไข จากเดิมที่ผู้ป่วยรับประทานหวานเย็นเพียงเล็กน้อยเพราะวา่ มีรสเค็มจึงได้เพิ่ม
ส่วนผสมคือ น้าหวาน (เฮลบลูบอย) เข้าไปในปริมาณน้ำ เกลือแร่150 ml ผสมน้ำ หวาน 5ml แล้วนำไปแช่ แข็งให้เป็นไอติมตามขั้นตอนเดิม
 5.การนำนวัตกรรมหวานเย็นไปใช้ หลังจากได้ปรับปรุงหวานเย็นแล้วนำไปให้ผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปาก รับประทานพบว่า ผู้ป่วยสามารถรับประทานไอติมได้หมด จึงได้จัดเตรียมหวานเย็น  ไว้ในปริมาณมากเพียงพอ สำหรับผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากที่นอนโรงพยาบาล

 ผลการดำเนินงาน 
        จากการจัดทำนวัตกรรมหวานเย็น พบว่าผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่อยสามารถรับประทานเกลือแร่ ORS ที่อยู่ในรูปของไอติมหวานเย็นได้และไม่มีภาวะขาดน้ำ

การขยายผล
     1.แนะนำให้ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กโรคมือเท้าปากเปื่อย นำไปทำให้บุตรหลานรับประทานต่อที่
บ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาล
     2.วางแผนการใช้นวัตกรรมหวานเย็นกับกลุ่มโรคอื่น เช่น อุจจาระร่วง
สรุปและข้อเสนอแนะ
      การจดัทำนวตักรรมหวานเย็นอาศัยรูปลักษณ์ของไอติม ที่ช่วยจูงใจให้เด็กอยากรับประทานและ ความเย็น ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บ แผลในปาก ทำให้ผู้ป่วยได้รับน้ำเกลือแร่และช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ จากภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปากเปื่อยได้อีกทั้งยังส่งผลให้ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย และความกังวลของบิดามารดาเกี่ยวกับอาการป่วยของบุตรได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
 คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : (2550). การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์. พิมพค์ร้ังที่1. มหาวทิยาลยัมหิดล,กรุงเทพ. ระบาดโรคมือเท้าปาก ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2556 จาก http://www.thairath.co.th/content/edu/279920 http://th.m.wikipedia.org/ โรคมือเท้าปาก ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2556 จาก http://www.siam health.net/…/hand_foot_mo.ht

โรคมือเท้าปาก สมุนไพรรักษาได้



 ฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.F.) Nees.) เป็นงานวิจัยที่ทำในประเทศจีน โดยนักวิจัยได้สกัดสาระสำคัญของฟ้าทลายโจรและทำให้อยู่ในรูปแบบของยาฉีด คือ Andrographolide Sulfonate injection
งานวิจัยนี้ทำในเด็กที่เป็นโรค มือ-เท้า-ปาก อายุ 1-13 ปี จำนวน 230 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะได้รับการรักษาแบบแผนเดิมร่วมกับ Andrographolide Sulfonate injection อีกกลุ่มจะได้รับการรักษาแบบแผนเดิม โดยติดตามผล 7-10 วัน ผลที่พบคือ กลุ่มแรกจะพบอาการแทรกซ้อนแบบรุนแรงน้อยกว่ากลุ่มที่สองอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังทำให้ไข้ลดลงได้เร็วขึ้น ทำให้แผลที่ผิวหนังและแผลในปากหายมากกว่ากลุ่มที่รักษาแบบแผนเดิม และไม่พบการเสียชีวิตรวมทั้งผลข้างเคียงที่รุนแรงในกลุ่มทดลอง
นอกจากนี้หากมีแผลในปากก็สามารถใช้กลีเซอรีนพญายอหยอดบริเวณแผลได้ เนื่องจากในใบพญายอมีสารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ทำให้แผลหายเร็วขึ้นและปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง
โดยสรุปแล้วการป้องกันโรคนี้อาจจะดีที่สุด เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กๆ หมั่นล้างมือให้สะอาดหลังจากหยิบจับสิ่งของ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ทางโรงเรียนก็ควรจะแยกผู้ป่วยเอาไว้ไม่ให้สัมผัสกับเด็กคนอื่น ทำความสะอาดของเล่น ห้องเรียนเพื่อลดการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะระวังมากแค่ไหน เด็กๆ ก็อาจมีโอกาสรับเชื้อมาได้ ผู้ปกครองก็ควรดูแลอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น